RSS

Tag Archives: วางแผนการศึกษาบุตร

วางแผนการศึกษาบุตรใครว่าไม่สำคัญ?ต้องรีบพร้อมก่อนลูกเข้าโรงเรียน


สำหรับหลายๆ ครอบครัวที่มีบุตร ควรเริ่มวางแผนการศึกษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะการให้การศึกษาที่ดีแก่ลูกเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรเอาใจใส่ การวางแผนการศึกษาที่ดี ควรเริ่มต้นจากการหาข้อมูลสถานศึกษา ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาอื่นๆ  หลักสูตรการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม การเดินทาง ฯลฯ เพื่อเปรียบเทียบหลายๆ ทางเลือก แล้วจึงพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและสถานภาพทางการเงินของครอบครัว

พ่อแม่มักเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกเสมอ เรื่องการศึกษาของลูกก็เช่นกัน พ่อแม่ย่อมต้องการให้ลูกได้เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป มี 2 ข้อให้เลือก 1. ส่งลูกเข้าโรงเรียนรัฐบาล 2. ส่งลูกเข้าโรงเรียนเอกชน อันนี้เริ่ม นับกันตั้งแต่อนุบาล ว่าคุณพ่อ คุณแม่จะเลือกให้ลูกเข้าโรงเรียนรัฐบาล หรือเอกชน ซึ่งค่าใช้จ่าย เอกชน ระดับ อนุบาล อยู่ที่ 15,000-35,000 บาท ประถม อยู่ที่ 10,000- 30,000 บาท มัธยม อยู่ที่ 10,000-20,000 บาท **ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนนะคะ บางโรงเรียนอาจจะมากกว่า หรือน้อยกว่านี้นิดหน่อย ไม่นับรวมค่าขนม อื่นๆของลูกๆนะคะ คิดแค่ค่าเทอมลูกอย่างเดียว**  ส่วนรัฐบาล ชั้น อนุบาล ประถม มัธยม ส่วนใหญ่ ราว 1,000-8,000 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนเรียกเก็บ เพราะถึงแม้ว่าจะมีรัฐบาลคอยช่วยเหลือ แต่ก็มีบางส่วนที่ทางโรงเรียนเรียกเก็บเพิ่มเติม

มี 6 ข้อให้คุณเป็นแนวทางให้การวางแผน

1.เริ่มวางแผนและเก็บเงินเสียแต่เนิ่นๆ
นอกจากคุณต้องวางแผนและเก็บออมเงินเพื่อการศึกษาของลูกตั้งแต่เนิ่นๆ แล้ว คุณยังควรประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายของคุณตามช่วงอายุลูก เพื่อให้ทราบว่าคุณจะต้องมีเงินเท่าไรจึงจะเพียงพอกับค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของลูกในอนาคต ซึ่งจะทำให้คุณมีเวลาหาเงินในส่วนที่ยังขาดก่อนถึงเวลาต้องใช้เงินนั้นจริงๆ

2.เลือกสถานที่เรียนให้ลูกตามความเหมาะสม
คุณควรเลือกสถาบันการศึกษาที่มีค่าเล่าเรียนเหมาะสมกับรายได้ของครอบครัว นอกจากนี้คุณควรสำรวจปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น ระยะทาง ระบบการสอน ฯลฯ เพื่อคุณจะได้เตรียมจัดสรรเงินให้เพียงพอด้วย

3.กำหนดจำนวนเงินที่ต้องการ
คุณควรทราบค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ทั้งค่าเทอม ค่าหอพัก ค่าหนังสือ ฯลฯ เพื่อคำนวณว่าระยะเวลาที่ลูกเรียนทั้งหมด ต้องใช้เงินประมาณเท่าไหร่ ที่สำคัญอย่าลืมคำนวณอัตราเงินเฟ้อเข้าไปด้วย เพราะโดยทั่วไปค่าเล่าเรียนจะเพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อกำหนดงบประมาณที่ต้องใช้ได้แล้ว ต้องวางแผนว่าจะออมเงินเดือนละเท่าไหร่เพื่อให้มีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายนั้นๆ ในเวลาที่กำหนด

4.วางแผนการออมและการลงทุน
นอกจากการออมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาของลูกแล้ว คุณอาจต้องพิจารณาการลงทุนวิธีอื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเงินของคุณ ซึ่งสามารถเลือกได้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้น พันธบัตร หรือกองทุน ฯลฯ โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้ด้วย

5.ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
หากลูกเรียนในมหาวิทยาลัยที่ไกลบ้าน และคุณมีเงินมากเพียงพอ คุณอาจซื้ออสังหาริมทรัพย์บริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยเพื่อให้ลูกมีที่พักที่แน่นอน ซึ่งคุณสามารถนำดอกเบี้ยจากการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยให้ลูกไปหักลดหย่อนภาษีได้ และเมื่อลูกเรียนจบ คุณสามารถให้นักศึกษารุ่นต่อๆ ไปเช่า เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองได้อีกทางหนึ่ง

6.กู้เงินเพื่อการศึกษาหรือการขอรับทุนการศึกษา
การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ แต่สำหรับบางครอบครัวที่มีภาระทางการเงินมาก อาจหาทางเลือกอื่นเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษาของลูกลง เช่น กู้เงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือขอทุนการศึกษาจากสถาบันการศึกษา

ข้อมูลบางส่วนมากจาก : http://www.tsi-thailand.org

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน 17/03/2012 นิ้ว ออมเงิน

 

ป้ายกำกับ: ,