RSS

7 วิธีที่ช่วยให้การวางแผนการเงินง่ายขึ้น

26 มี.ค.

การวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะเป็นวิธีที่ทำให้เรารู้ได้ว่า ในเดือนหนึ่งเราใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดรายจ่ายส่วนเกินลงได้แล้ว ยังช่วยให้คุณมีเงินเก็บเพิ่มขึ้นด้วย…และนี่คือ 7 วิธีที่ได้ผลที่ควรลองทำตามดู

1. ควบคุมการใช้จ่าย โดยแบ่งรายได้ออกเป็นเปอร์เซ็นต์ดังนี้ 60% คือเงินที่ต้องใช้ประจำทุกเดือน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าอาหาร ค่ารถ 10% คือเงินที่เก็บออมไว้ ในยามเกษียณ 10 % สำหรับ สำหรับเก็บไว้ในระยะยาว เอาไว้โปะหนี้ หรือคุณอาจนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยก็ได้ 10 % เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าซ่อมเครื่องใช้ในบ้าน ค่าของขวัญ และ 10 % สุดท้ายเผื่อไว้สำหรับความบันเทิง เช่น ดูหนัง ฟังคอนเสิร์ต เป็นต้น

2. ฝึกนิสัยการเซฟเงินให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ว่าเงินส่วนไหนควรเก็บออม เงินส่วนไหนควรใช้จ่าย นอกจากนี้ ควรทำบัญชีหลักเพียง 2 บัญชี คือ บัญชีสำหรับใช้จ่ายฉุกเฉิน และ บัญชีสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ การทำเช่นนี้อาจดูยุ่งยากอยู่สักหน่อย แต่ก็จะช่วยให้คุณจัดสรรการใช้เงินได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องมาปวดหัวภายหลัง

3. ใช้เงินสดจ่ายทุกอย่าง เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน ค่าบัตรเครดิต ฯลฯ โดยให้เบิกเงินแค่เดือนละสองครั้งเท่านั้น วิธีนี้ดีกว่าการใช้เช็คหรือบัตรเครดิตเป็นไหนๆซึ่งเราจะได้ไม่เผลอใช้จ่ายเงินเกินตัวด้วย หากจะใช้บัตรเครดิตก็ต่อเมื่อถึงคราวจำเป็นจริๆเท่านั้น

4. แบ่งเวลา 15-20 นาที ต่อสัปดาห์ เพื่อตรวจสอบการใช้เงินของตัวเองว่า เราใช้จ่ายไปมากน้อยแค่ไหน ใช้เงินเกินงบหรือไม่ โดยอาจใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างตารางขึ้นมา แล้วบันทึกค่าใช้จ่ายเรียงลำดับก่อนหลังตามความจำเป็นให้พยายามตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป วิธีนี้จะช่วยให้เราใช้เงินได้ตามแผนที่วางไว้

5. แบ่งเงินใส่ซองแต่ละซอง โดยเขียนหน้าซองไว้ว่า ซองนี้ซองนั้นสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ซึ่งหากใช้เงินไม่หมดซองเราก็สามารถเช็คได้ง่าย แล้วยังเก็บไว้สมทบเป็นค่าใช้จ่ายในเดือนหน้าได้อีกด้วย วิธีนี้อาจดูโบราณไปหน่อย แต่ก็ได้ผลอย่างดีไม่น่าเชื่อ

6. ตัดใจบอกยกเลิกบัตรเครดิตบางบัตรที่ไม่จำเป็นไปบ้าง จะได้ช่วยลดภาระหนี้สินลงได้ และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ใช้จ่ายเงินเกินตัวด้วย ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้แต่บัตรเดบิต (ที่หักเงินจากบัญชีธนาคารของเรา) เพียงอย่างเดียว

7. จ่ายบิลทุกอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น ถ้าครบกำหนดชำระในวันที่หนึ่งของทุกเดือน ก็ให้รวบรวมทุกบิลไปจ่ายพร้อมกันทีเดียวเลย จะได้รู้ว่าเดือนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายหลักๆ เท่าไร และเงินส่วนไหนที่สามารถจะเก็บออมไว้ได้บ้าง

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน 26/03/2012 นิ้ว ออมเงิน

 

ป้ายกำกับ: ,

ใส่ความเห็น