RSS

Author Archives: saving777

วางแผนการศึกษาให้ลูกน้อย


พ่อแม่มักเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกเสมอ เรื่องการศึกษาของลูกก็เช่นกัน พ่อแม่ย่อมต้องการให้ลูกได้เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่มากน้อยแตกต่างกันตามคุณภาพและความมีชื่อเสียงของสถาบันการศึกษานั้นๆ ลองพิจารณาขั้นตอนเหล่านี้เพื่อใช้เป็นแนวทางการวางแผนการศึกษาของลูกน้อยกัน

เริ่มวางแผนและเก็บเงินเสียแต่เนิ่นๆ
นอกจากคุณต้องวางแผนและเก็บออมเงินเพื่อการศึกษาของลูกตั้งแต่เนิ่นๆ แล้ว คุณยังควรประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายของคุณตามช่วงอายุลูก เพื่อให้ทราบว่าคุณจะต้องมีเงินเท่าไรจึงจะเพียงพอกับค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของลูกในอนาคต ซึ่งจะทำให้คุณมีเวลาหาเงินในส่วนที่ยังขาดก่อนถึงเวลาต้องใช้เงินนั้นจริงๆ

เลือกสถานที่เรียนให้ลูกตามความเหมาะสม
คุณควรเลือกสถาบันการศึกษาที่มีค่าเล่าเรียนเหมาะสมกับรายได้ของครอบครัว นอกจากนี้คุณควรสำรวจปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น ระยะทาง ระบบการสอน ฯลฯ เพื่อคุณจะได้เตรียมจัดสรรเงินให้เพียงพอด้วย

กำหนดจำนวนเงินที่ต้องการ
คุณควรทราบค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ทั้งค่าเทอม ค่าหอพัก ค่าหนังสือ ฯลฯ เพื่อคำนวณว่าระยะเวลาที่ลูกเรียนทั้งหมด ต้องใช้เงินประมาณเท่าไหร่ ที่สำคัญอย่าลืมคำนวณอัตราเงินเฟ้อเข้าไปด้วย เพราะโดยทั่วไปค่าเล่าเรียนจะเพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อกำหนดงบประมาณที่ต้องใช้ได้แล้ว ต้องวางแผนว่าจะออมเงินเดือนละเท่าไหร่เพื่อให้มีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายนั้นๆ ในเวลาที่กำหนด

วางแผนการออมและการลงทุน
นอกจากการออมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาของลูกแล้ว คุณอาจต้องพิจารณาการลงทุนวิธีอื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเงินของคุณ ซึ่งสามารถเลือกได้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้น พันธบัตร หรือกองทุน ฯลฯ โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้ด้วย

ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
หากลูกเรียนในมหาวิทยาลัยที่ไกลบ้าน และคุณมีเงินมากเพียงพอ คุณอาจซื้ออสังหาริมทรัพย์บริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยเพื่อให้ลูกมีที่พักที่แน่นอน ซึ่งคุณสามารถนำดอกเบี้ยจากการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยให้ลูกไปหักลดหย่อนภาษีได้ และเมื่อลูกเรียนจบ คุณสามารถให้นักศึกษารุ่นต่อๆ ไปเช่า เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองได้อีกทางหนึ่ง

กู้เงินเพื่อการศึกษาหรือการขอรับทุนการศึกษา
การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ แต่สำหรับบางครอบครัวที่มีภาระทางการเงินมาก อาจหาทางเลือกอื่นเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษาของลูกลง เช่น กู้เงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือขอทุนการศึกษาจากสถาบันการศึกษา

การเริ่มคิดและวางแผนล่วงหน้าเพื่ออนาคตของลูกเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณพร้อมที่จะมีเงินส่งเสียด้านการศึกษาให้ลูกในทุกระดับการศึกษาตั้งแต่อนุบาล จนจบปริญญาได้อย่างราบรื่นและมั่นคง

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน 23/03/2012 นิ้ว ออมเงิน

 

สลากออมสินทางเลือกใหม่ของการออม


สลากออมสินคืออะไร?

สลากออมสิน เป็นรูปแบบหนึ่งของการออมทรัพย์
ที่ให้คุณฝากเงินกับทางธนาคาร รับดอกเบี้ยตาม
อัตราที่กำหนด พร้อมมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลต่างๆมากมาย
แบบคุ้มแล้วคุ้มอีก ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณ์
เฉพาะของธนาคารออมสิน

ออมเงินอย่างชาญฉลาดกับสลากออมสิน

  • ฝากเงินแถมได้ลุ้นรางวัลทุกงวด
    จนกว่าจะหมดอายุของสลากออมสิน
  • ฝากครบตามระยะเวลา ได้รับอัตรา
    ดอกเบี้ยพิเศษถึง 2.375
  • ปลอดภัย ไม่สูญเงินต้น
  • ได้รับดอกเบี้ย
  • ลุ้นรางวัลได้ทุกเดือน

อีกทางเลือกที่ปลอดภัย ลุ้นรางวัลใหญ่ทุกเดือน ติดตามรายละเอียดที่ ธนาคารออมสิน คะ

 
 

วางแผนการศึกษาบุตรใครว่าไม่สำคัญ?ต้องรีบพร้อมก่อนลูกเข้าโรงเรียน


สำหรับหลายๆ ครอบครัวที่มีบุตร ควรเริ่มวางแผนการศึกษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะการให้การศึกษาที่ดีแก่ลูกเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรเอาใจใส่ การวางแผนการศึกษาที่ดี ควรเริ่มต้นจากการหาข้อมูลสถานศึกษา ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาอื่นๆ  หลักสูตรการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม การเดินทาง ฯลฯ เพื่อเปรียบเทียบหลายๆ ทางเลือก แล้วจึงพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและสถานภาพทางการเงินของครอบครัว

พ่อแม่มักเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกเสมอ เรื่องการศึกษาของลูกก็เช่นกัน พ่อแม่ย่อมต้องการให้ลูกได้เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป มี 2 ข้อให้เลือก 1. ส่งลูกเข้าโรงเรียนรัฐบาล 2. ส่งลูกเข้าโรงเรียนเอกชน อันนี้เริ่ม นับกันตั้งแต่อนุบาล ว่าคุณพ่อ คุณแม่จะเลือกให้ลูกเข้าโรงเรียนรัฐบาล หรือเอกชน ซึ่งค่าใช้จ่าย เอกชน ระดับ อนุบาล อยู่ที่ 15,000-35,000 บาท ประถม อยู่ที่ 10,000- 30,000 บาท มัธยม อยู่ที่ 10,000-20,000 บาท **ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนนะคะ บางโรงเรียนอาจจะมากกว่า หรือน้อยกว่านี้นิดหน่อย ไม่นับรวมค่าขนม อื่นๆของลูกๆนะคะ คิดแค่ค่าเทอมลูกอย่างเดียว**  ส่วนรัฐบาล ชั้น อนุบาล ประถม มัธยม ส่วนใหญ่ ราว 1,000-8,000 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนเรียกเก็บ เพราะถึงแม้ว่าจะมีรัฐบาลคอยช่วยเหลือ แต่ก็มีบางส่วนที่ทางโรงเรียนเรียกเก็บเพิ่มเติม

มี 6 ข้อให้คุณเป็นแนวทางให้การวางแผน

1.เริ่มวางแผนและเก็บเงินเสียแต่เนิ่นๆ
นอกจากคุณต้องวางแผนและเก็บออมเงินเพื่อการศึกษาของลูกตั้งแต่เนิ่นๆ แล้ว คุณยังควรประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายของคุณตามช่วงอายุลูก เพื่อให้ทราบว่าคุณจะต้องมีเงินเท่าไรจึงจะเพียงพอกับค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของลูกในอนาคต ซึ่งจะทำให้คุณมีเวลาหาเงินในส่วนที่ยังขาดก่อนถึงเวลาต้องใช้เงินนั้นจริงๆ

2.เลือกสถานที่เรียนให้ลูกตามความเหมาะสม
คุณควรเลือกสถาบันการศึกษาที่มีค่าเล่าเรียนเหมาะสมกับรายได้ของครอบครัว นอกจากนี้คุณควรสำรวจปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น ระยะทาง ระบบการสอน ฯลฯ เพื่อคุณจะได้เตรียมจัดสรรเงินให้เพียงพอด้วย

3.กำหนดจำนวนเงินที่ต้องการ
คุณควรทราบค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ทั้งค่าเทอม ค่าหอพัก ค่าหนังสือ ฯลฯ เพื่อคำนวณว่าระยะเวลาที่ลูกเรียนทั้งหมด ต้องใช้เงินประมาณเท่าไหร่ ที่สำคัญอย่าลืมคำนวณอัตราเงินเฟ้อเข้าไปด้วย เพราะโดยทั่วไปค่าเล่าเรียนจะเพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อกำหนดงบประมาณที่ต้องใช้ได้แล้ว ต้องวางแผนว่าจะออมเงินเดือนละเท่าไหร่เพื่อให้มีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายนั้นๆ ในเวลาที่กำหนด

4.วางแผนการออมและการลงทุน
นอกจากการออมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาของลูกแล้ว คุณอาจต้องพิจารณาการลงทุนวิธีอื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเงินของคุณ ซึ่งสามารถเลือกได้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้น พันธบัตร หรือกองทุน ฯลฯ โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้ด้วย

5.ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
หากลูกเรียนในมหาวิทยาลัยที่ไกลบ้าน และคุณมีเงินมากเพียงพอ คุณอาจซื้ออสังหาริมทรัพย์บริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยเพื่อให้ลูกมีที่พักที่แน่นอน ซึ่งคุณสามารถนำดอกเบี้ยจากการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยให้ลูกไปหักลดหย่อนภาษีได้ และเมื่อลูกเรียนจบ คุณสามารถให้นักศึกษารุ่นต่อๆ ไปเช่า เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองได้อีกทางหนึ่ง

6.กู้เงินเพื่อการศึกษาหรือการขอรับทุนการศึกษา
การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ แต่สำหรับบางครอบครัวที่มีภาระทางการเงินมาก อาจหาทางเลือกอื่นเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษาของลูกลง เช่น กู้เงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือขอทุนการศึกษาจากสถาบันการศึกษา

ข้อมูลบางส่วนมากจาก : http://www.tsi-thailand.org

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน 17/03/2012 นิ้ว ออมเงิน

 

ป้ายกำกับ: ,

มาเริ่มต้นออมเงินกันแต่เนิ่นๆ ดีกว่า


1.รู้จักตัวเอง
คำแนะนำในข้อต่อๆ ไปจะปรับใช้กับคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อก่อนใช้เงินทุกครั้ง คุณต้องหันกลับมาพิจารณาตัวเองว่า คุณเป็นใคร มีนิสัยอย่างไร อาชีพอะไร รายจ่ายแค่ไหน ฯลฯ
  2.มีทัศนคติที่ถูกต้องด้านการเงิน
คนไทยยังเข้าใจว่า ‘คนเงินเดือนน้อยไม่จำเป็นต้องวางแผน การเงิน’ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด ยิ่งเงินเดือนหลักพันถึงหมื่นต้นๆ ยิ่งต้องวางแผน บางคนไม่ยอมทำประกันชีวิตเพราะคิดว่าไม่จำเป็น ทั้งที่การทำประกันชีวิตเป็นการป้องกันการดึงเงินเก็บออกมาใช้เมี่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน
  3.ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์
สูตรการออมเงินให้ได้มากกว่า 50% คือ รายได้เยอะ แต่ใช้จ่ายน้อย หรือรายได้เท่าเดิม แต่ใช้จ่ายลดลง แต่ค่าใช้จ่ายของคนเราทุกวันนี้ไม่ได้ขยับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ แต่ขยับตามไลฟ์สไตล์ เพราะฉะนั้นจึงควรถามตัวเองว่า มีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องมีไลฟ์สไตล์เลิศหรูตามระดับรายได้ จำเป็นแค่ไหนที่ต้องวิ่งตามแฟชั่น
  4.มีวินัยในการออม
จำให้ขึ้นใจว่า สะพานที่ทอดยาวสู่อิสรภาพทางการเงินและความมั่งคั่งจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากคำว่า ‘วินัย’
  5.แปลงเวลาว่างให้เป็นรายได้เสริม
ค้นหาตัวเองว่านอกจากความสามารถในงานประจำแล้ว เรามีพรสวรรค์อะไร บ้าง เราสามารถดึงมาใช้เป็นอาชีพเสริมได้ เมื่อมีรายได้เพิ่ม ความสามารถในการออมก็จะขยับขึ้นโดยอัตโนมัติ
  6.ตัดรายจ่ายไม่จำเป็น
จดรายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดลงบนกระดาษ แล้วพิจารณาว่ามีส่วนไหนที่จะลดหรือตัดออกได้ เช่น ค่าเคเบิลทีวี ฟิตเนส อินเตอร์เน็ต ฯลฯ อะไรที่ไม่คุ้มค่าก็บอกเลิกสมาชิกเสียเถอะ
ทั้ง 6 ข้อไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลยใช่ไหมล่ะ

ที่มา  คอลัมน์ ‘Life Management’ นิตยสาร “ซีเคร็ต”

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน 15/03/2012 นิ้ว ออมเงิน

 

ป้ายกำกับ: ,

ระหว่างซื้อสลากออมสิน กับ สลากธกส. อะไรดีกว่ากัน


   ผู้เขียนกำลังคิดจะซื้อสลากออมสิน เอาไว้ออมเงินแล้วก็เผื่อได้โชค ก็เลยหาข้อมูลดู ซึ่งก็ชั่งใจอยู่ว่า จะซื้อสลากออมสิน หรือสลากธกส.ดี แล้วซื้ออันไหนให้ผลตอบแทน(กำไร) ดีกว่ากัน เรื่องโชคยังไม่ต้องพูดถึง ถ้าซื้อด้วยเงินเป็นหลักแสนขึ้นไป ยังไงก็ถูกทุกงวดอยู่แล้ว แต่นี่กะจะซื้อให้ออมเงินแล้วก็ไม่ได้หวังโชคอะไรเท่าไหร่ เพราะจะซื้อแค่ไม่กี่หมื่นบาท วันนี้ก็เลยลองเปรียบเทียบให้เห็นถึงข้อแตกต่างกันไปเลยว่า เป็นอย่างไร
  

ได้ข้อสรุป แล้ว ถ้าชอบรางวัลเยอะโอกาสถูกเยอะ ก็สลากธกส.
ถ้าชอบผลตอบเยอะตอนครบอายุสัญญา ก็สลากธกส.
ถ้าชอบราคาต่อหน่วยไม่แพง ก็สลากออมสิน
ถ้าชอบความสะดวกรวดเร็วในการได้เงินรางวัล ก็ที่ธนาคารออมสินเลยคะ
ส่วนตัวผู้เขียนเน้นสะดวกรวดเร็ว ก็คงเลือกสลากออมสินคะ เพราะใกล้บ้าน ถูกรางวัลปุ๊บก็โอนเงินเข้าบัญชีเลย (ปล.ไม่ได้เป็นหน้าม้าของธ.ออมสินนะคะ ) หวังว่าบทความนี้พอจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านคะ

 
 

ป้ายกำกับ: ,